วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การจัดสวนหน้าบ้าน




1.ไม้ยืนต้น  คืนต้นไม้ลำต้นเดี่ยวทอดสูงขึ้น  แบ่งความสูงได้ ขนาด คือ 10 เมตรขึ้นไป



              ต่ำกว่า 10 เมตร และต่ำกว่า เมตร ที่นิยมนำมาปลูกก็คือ สะเดาแคนาปาล์ม  ประโยชน์ที่นักจัดสวนเลือกไม้ยืนต้นมาใช้ก็คือ  ให้ร่มเงา  เป็นฉากบังสายตา  กันฝุ่น กลิ่นไม่พึงประสงค์ 
             ไม้ยืนต้นที่มีทรงสูง  มักจะถูกนักจัดสวนหยิบจับมาวางไว้ให้เป็นพระเอกของสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมวางไว้ในตำแหน่ง ริมรั้วมุมรั้วกลางสนาม,ในกลุ่มสวน
       1.              ไม้ระดับกลาง  จะมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ต้นกระดาษเขียวต้นกระดาษขาวต้นกระดาษดำ  เวลาจะปลูกต้องคำนึงด้วยว่าตอนโตเต็มที่จะเจริญเติบโตอยู่ได้หรือไม่

      2.              ไม้พุ่ม  จะนิยมใช้ในการเป็นจุดเด่นในสนามหญ้า  หรือปลูกไล่ไปตามรั้วบ้าน หรือไม่ก็ปลูกในกระถางให้  สวยงาม  ปกติแล้วไม้พุ่มในบ้านเราจะนิยมเน้นเลือกไม้ที่มีลักษณะใบเด่นกว่าดอก อาทิ  แก้ว,  เข็ม,  เทียนทอง,  เทียนหยด,  พลับพลึง,  ชบา สี

     3.              ไม้คลุมดิน  เป็นไม้เล็กที่แม้จะดูต่ำเตี้ย  แต่ในตำราของนักจัดสวนแล้ว  ถือว่า ขาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะไม้พวกนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวลขึ้นและเกิดความรู้สึกต่อเนื่องไปกับสนามหญ้า  เวลามองสวนสวยภายในบริเวณบ้าน  ที่นิยมกันก็คือ หลิวดอกขาวเฟิร์นมะขาม ฯลฯเมื่อนำไม้ทั้ง ลักษณะมาจัดวางในสวนของบ้าน จะต้องดูความเหมาะสม ดูทิศทางลมด้วยว่า  ต้นไม้ชนิดใดเป็นไม้หอม  ก็ควรจัดวางไว้ในตำแหน่งลมพัดผ่าน  ที่สำคัญต้องคำนึงถึงความสวยงาม  และศิลปะการจัดวางให้พื้นที่  ซึ่งหากเข้าใจ สวนผืนเล็ก ๆ อาจกลายเป็นประติมากรรมอันงดงามฝีมือของคุณเองก็เป็นได้  เป็นประติมากรรมมีชีวิตที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกัน  ซึ่งในระยะแรกเริ่มที่ต้นไม้เพิ่งหยั่งรากลงสู่ดิน

คงต้องมีการรดน้ำกันให้ชุ่มช่ำ  กระทั่งผ่านพ้น เดือนไปแล้ว  นั่นแหละถึงเริ่มพิจารณาดูที่สภาพของดินว่าเป็นอย่างไร  แล้วค่อยรดน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ  ที่สำคัญ  ต้องไม่ลืมเสริมสวยโดยการตัดแต่งกิ่งก้านที่เกิดงามให้เข้าที่เข้าทางด้วย  ไม่เช่นนั้น สวนสวย ๆ อาจกลายเป็นป่ารกชัฏ และนำพาสัตว์ตัวร้ายอาทิ งู เข้ามาอยู่ในบ้าน 

การดูแลรักษาต้นไม้


การดูแลรักษา


       ความสวยงามให้ทนนานที่สุด ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสวนให้คงสภาพนั้น จะเป็นจํานวนเงิน ที่ค่อนข้างมากกว่า การออกแบบจัดสวน ในปัจจุบัน อาชีพ การดูแลรักษาสวน เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่สามารถ ทํารายได้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้ค่อนข้างมาก
การดูแลรักษาสวน (maintenance) เพื่อให้สวนสวยงาม คงสภาพเดิมนานที่สุด มีวิธีที่จะต้องปฏิบัติดังนี้
การตัดแต่งพรรณไม้ (pruning)
การดูแลบํารุงรักษาสนามหญ้า (lawn maintenance)
การให้ปุ๋ย (fertilization)
การป้องกันกําจัดศัตรูพืช (pest control)
การปรับปรุงสวน (gardening improvement)

การปลูกต้นไม้



                                 การจัดสวน ประดับตกแต่ง อาคารสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่า การออกแบบสวน การจัดสวน จะทําให้ผลที่ออกมาสวยงาม เพียงใดก็ตาม หากสวนนั้น ขาดการเอาใจใส่ดูแลรักษา หรือดูแลรักษาไม่ถูกต้อง  
ความสวยงาม ดังกล่าวก็จะค่อย ๆ สูญเสียไปในที่สุดการออกแบบสวน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้ การดูแลรักษาสวน ง่ายหรือยากได้ หากเจ้าของสถานที่ ไม่มีเวลาที่จะเอาใจใส่ ดูแลรักษาสวนมากนัก ก็ควรจะจัดสวนให้ดูแลรักษาได้ง่าย ใช้พรรณไม้ ที่ไม่ต้องการการดูแลมาก ทนทานต่อ สภาวะแวดล้อม ได้ดี และค่อนข้างเจริญเติบโตช้า แต่ถ้าหากเจ้าของเป็น คนรักธรรมชาติ มีเวลาให้กับสวนได้มาก มีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับ พรรณไม้ต่าง ๆ การออกแบบจัดสวน ก็สามารถเลือกใช้ พรรณไม้แปลก ๆ ที่ต้องการการเอาใจใส่ ดูแลรักษามากได้ นอกจากนี้ การออกแบบจัดสวน จะต้องให้สะดวก เหมาะสมกับการเข้าไป ปฏิบัติงาน ในการดูแลรักษา ได้ง่ายด้วย เพราะ การจัดสวน เป็น การจัดวางสิ่งที่มีชีวิต มีการเจริญเติบโต ต้องการการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากปล่อยทิ้ง ให้สวนนั้น เจริญเติบโตไปตาม ธรรมชาติ สักระยะหนึ่ง พรรณไม้ต่าง ๆ จะเจริญเติบโตมากเกินไป สวนที่เคยสวยงามใน ครั้งแรกก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เสื่อมสภาพได้ ดังนั้น การดูแลรักษา จึงเป็น สิ่งสําคัญ ที่จะช่วยให้สวนนั้น คงสภาพ

การถนอมอาหารโดยการดอง


    
                        การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะ   
            สร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการ 
            หมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตก 
            ต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป


               การถนอมอาหารโดยการดองมีหลายวิธีดังนี้
          2.1 การดองเปรี้ยว ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น วิธีทำคือนำเอาผักมา  

               เคล้ากับเกลือ โดยผสมน้ำเกลือกบน้ำส้มต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทราดลงบนผักที่เรียงไว้ใภาชนะ เทให้

               ท่วมผักปิดฝาภาชนะไม่ให้ลมเข้า หมักทิ้งไว้ 4-7 วัน ก็นำมารับประทานได้
          2.2 การดอง 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียน การดองชนิดนี้

                คือ นำเอาผักมาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาเราดลงบนผักปิด  

                ฝา   ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้

        2.3 การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น โดยต้มน้ำตาล น้ำส้ม
              สายชู เกลือ ให้ออกรสหวานนำให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้
        2.4 การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม 
              เป็นต้น ต้มน้ำส้มสายชูและเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่ภาชนะที่จะบรรจุอาหาร
             ดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือนจึงนำมารับประทาน
        2.5 การหมักดองที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิด  
               แอลกอฮอล์ เช่น ข้าวหมาก ไวน์ เป็นต้น

เครื่องเรือนที่ทำด้วยโลหะ

  เครื่องเ

                วัสดุจำพวกโลหะมีคุณสมบัติแข็ง  ขัดเงาขึ้นแวววาว  นำความร้อนได้ดี  ในสมัยโบราณมีการทำเครื่องมือเครื่องใช้โดยใช้เนื้อโลหะบริสุทธิ์  เช่น  เงิน  ทองคำ  ทองแดง  ต่อมามีการพัฒนาเป็นพวกโลหะผสม  ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ยิ่งขึ้น  โลหะที่ทำเครื่องใช้ในบ้านของเรา  มีดังต่อไปนี้
               1.  เหล็ก   เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก  เช่น  มีด  จอบ  เสียม  และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่น    มีวิธีดูแลรักษา  ดังนี้
·       ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ  เช่น  มีดสำหรับสับเนื้อ  ไม่ควรนำไปฟันไม้  เป็นต้น
·       หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที  โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจนสะอาด  หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด  เช็ดให้แห้ง
·       ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม
·       อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนาน ๆ หรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม  ถ้ามีสนิมขึ้น  ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด  เช็ดให้แห้ง  ใช้น้ำมันทากันสนิม แล้วเก็บเข้าที่
การเก็บรักษา
           เครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก  เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง  ปลอก  หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด  ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน  เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม
  2.  เครื่องเงิน เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน  เช่น  ชุดน้ำชา  ขันเงิน  พาน  โดยธรรมชาติของเครื่องเงิน  ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา  ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ  การดูแลรักษาควรปฏิบัติ  ดังนี้
·       ใช้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกทันที
·       ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ  หรือน้ำมะนาวผสมสบู่  ขัดให้สะอาด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
·       ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง  แล้วขัดให้สะอาด
·       ห้ามใช้ใยขัดโลหะ  หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน  เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน  และสึกหรอได้
การเก็บรักษา
               เครื่องเงินที่นำมาใช้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ถุง  ใส่กล่อง  แล้วนำเก็บเข้าตู้ไม่ให้ถูกอากาศ
               3.  อะลูมิเนียมเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มีน้ำหนักเบา  ไม่เป็นสนิม  จัดทำรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย  มักนำมาทำภาชนะเครื่องใช้  เช่น  หม้อ  กระทะ  ทัพพี  ถาด  ขันน้ำ  มีวิธีดูแลรักษาดังนี้
·       ใช้ฝอยขัดหม้อหรือแผ่นขัด  ขัดให้สะอาด  แล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ ห้ามใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างเข้มข้นขัด
·       รอยไหม้บนอะลูมิเนียม  ห้ามใช้ไม้หรือเหล็กแคะ  ให้ต้มด้วยน้ำผสมเกลือให้เดือด  รอยไหม้จะกะเทาะออกไปเอง  หรือใช้ฝอยขัดหม้อขัด  แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
การเก็บรักษา
เมื่อทำความสะอาดแล้ว  ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง  เก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้
                4.  เครื่องแสตนเลส            มีคุณสมบัติพิเศษ  คือ  ทนความร้อนได้ดี  ทนทานต่อความกัดกร่อน  สามารถทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้สะดวก  ไม่เป็นสนิม  และดูแลรักษาง่าย  นิยมใช้ทำภาชนะหุงต้ม  ภาชนะในการรับประทานอาหาร  อุปกรณ์ทำความสะอาด  เช่น  อ่างล้างชาม  เป็นต้น
                 วิธีดูแลรักษา        ใช้ฟองน้ำชุบน้ำผสมผงซักฟอก  หรือ  น้ำยาล้างจานขัดถูให้สะอาดคว่ำไว้  แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้งแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้
การเก็บรักษา   เมื่อทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งแล้ว  นำไปเก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้

เครื่องเรือนที่ทำด้วยหนัง



เครื่องเรือนที่ทำจากหนังมี   แบบ  คือ  แบบหนังเรียบธรรมดา  และแบบหนังกลับ  ใช้ทำชุดรับแขก  กระเป๋า  รองเท้า  เข็มขัด  มีวิธีดูแลรักษาตามชนิดของเครื่องหนัง  ดังนี้ 
 
1.  เครื่องหนังธรรมดาให้ทำความสะอาดด้วยการใช้แปรงอ่อน ๆ ปัดฝุ่น  หรือสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อน  แล้วใช้เศษผ้า  ฟองน้ำ  หรือแปรงขัดหนัง  ขัดให้ทั่ว  ต่อจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม  ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่
2.  หนังกลับทำความสะอาดด้วยการปัดฝุ่นละออง โดยใช้แปรงปัดฝุ่นให้ชนลู่ไปทางเดียวกันเพื่อให้สวยงาม  และระวังอย่าให้ถูกความชื้นและความร้อน  เพราะจะทำให้เสียรูปทรง การเก็บรักษาเมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่กล่อง  ถุงผ้า  หรือเก็บไว้ในตู้


เครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้



1.  ไม้เนื้อแข็ง       เช่น   ไม้สัก  ไม้เต็ง  ไม้มะค่า  ไม้ประดู่  เป็นต้น  มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้  ชั้นวางของ  ตู้
วิธีดูแลรักษา
ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออกให้หมด  ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำบิดให้หมาด  เช็ดฝุ่นให้สะอาดทุก      ซอกทุกมุม  ทิ้งให้แห้ง  หากมีรอยเปื้อนมาก ๆ ขัดออกด้วยกระดาษทราย ทาขี้ผึ้งแล้วขัดด้วยผ้าแห้ง  หรือใช้น้ำยาชักเงาที่ขายสำเร็จรูปฉีดแล้วทิ้งให้แห้ง  ไม่ควรให้เปียกน้ำ
2.  ไม้เนื้ออ่อน      เช่น  ไม้ไผ่  หวาย  มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้  เตียงนอน  ชั้นวางของ
วิธีดูแลรักษา
ใช้แปรงหรือไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออก  แล้วใช้ผ้าฝ้ายสะอาดชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดออก  ทิ้งไว้ให้แห้ง  ควรฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมอด  แล้วนำออกตากแดด  ไม่ควรใช้มือเปียกจับเครื่องเรือน  เพราะจะทำให้เกิดรอยด่าง  ถ้ามีรอยเปื้อนมาก ๆ ให้เช็ดด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำอุ่นให้ทั่ว  แล้วขัดด้วยขี้ผึ้ง
การเก็บรักษาเครื่องเรือนที่ทำจากไม้  เมื่อทำความสะอาดแล้วควรผึ่งให้แห้งสนิทเสียก่อน  แล้วจึงนำมาเก็บหรือตั้งไว้ในที่แห้ง  ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง  เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่าย      

ประวัติส่วนตัว



    ชื่อ : นางสาววิภาดา มุขนาค
     ชื่อเล่น :  น้ำ
     เกิดวัน พุธ  ที่ 17  พ.ศ.2542
     อายุ :  15 ปี
     งานอดิเรก :  เล่นกีฬา ฟังเพลง
     อาหารที่ชอบ :  ส้มตำ
     กีฬาที่ชอบ :  ว่ายน้ำ
     สีที่ชอบ :  สีฟ้า
     ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6
     โรงเรียน : สุราษฎร์พิทยา