|
วิธีการถนอมอาหารมีมาตั้งแต่สมัยโบราณที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย การถนอมอาหารช่วยให้สามารถเก็บอาหารไว้บริโภคได้เป็นเวลานาน
โดยที่อาหารนั้นไม่สูญเสียคุณภาพ ซึ่งวิธีการถนอมอาหารมีหลายวิธีสามารถทำได้เองและง่ายมาก
ซึ่งเรามาดูวิธีถนอมอาหารกันดีกว่าคะ
วิธีถนอมอาหารมีดังนี้
1.
การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
การถนอมอาหารโดยตากแห้งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด
ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์
ผักและผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหารหมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย
เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะ
อาศัยและเจริญเติบโตได้
ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น
เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
ก่อนตากแห้งจะต้องล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพวกผักมักลวกด้วยน้ำเดือดเสียก่อน
ทำให้หยุดยั้งปฏิกิริยา
เคมี บางรายนิยมนำเอาผลไม้ไปรมควันกำมะถันอ่อน ๆ
ก่อนที่จะตากแห้ง ซึ่งจะช่วยให้มีสีและรสดีขึ้น
ทั้งยัง
ป้องกันไม่ให้เกิดรสเปรี้ยวและช่วยกันไม่ให้แมลงกัดกินอีกด้วย อาหารที่นิยมถนอมโดยการตากแห้ง มักเป็น
ประเภทผัก ผลไม้
และเนื้อ เช่น ดีปลี พริก (พริกไทย) เห็ดบางชนิด (เช่น
เห็ดแครงที่ขึ้นตามต้นไม้มะขามที่ล้มตาย
เป็นต้น) หมากแห้ง (ฝานก่อนตาม) กล้วยตาก
(กล้วยสุกปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ลูกหยี (ปอกเปลือกแล้วตากแห้ง)
ส้มแขก
(ผลไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแห้ง ใช้ในการปรุงอาหาร)
เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้น
การตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า
และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น หอยตาก
(หอย
น้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายหอยแครงแต่ขนาดเล็กว่า ชอบอยู่ในทะเลสาบ
อาจลวกให้สุกด้วยน้ำเกลือที่ร้อนจัด หรือคลุก
เกลือแล้วตากแดด
โดยมากนิยมใช้วิธีหลังจึงเรียกหอยชนิดนี้ตามกรรมวิธีที่นิยมนั้นว่าหอยตาก) ปลาริ้ว
(ปลาช่อน
ตัวโต ๆ ที่นำมาผ่าเป็นริ้ว ๆ แล้วตากแห้ง) ปลาแห้ง (ปลาเกลือ) เนื้อแห้ง
(เนื้อเค็ม) เคย (กะปิ) บางชนิดต้มให้สุก
เสียก่อนแล้วนำมาตากแห้ง
เช่น สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา เป็นต้น
2.
การถนอมอาหารโดยการดอง
การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะ
สร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร
ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการ
หมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์ชนิดอื่นๆ
และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตก
ต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น
และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป
การถนอมอาหารโดยการดองมีหลายวิธีดังนี้
2.1 การดองเปรี้ยว ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น วิธีทำคือนำเอาผักมา
2.1 การดองเปรี้ยว ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น วิธีทำคือนำเอาผักมา
เคล้ากับเกลือ
โดยผสมน้ำเกลือกบน้ำส้มต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทราดลงบนผักที่เรียงไว้ในภาชนะ
เทให้
ท่วมผักปิดฝาภาชนะไม่ให้ลมเข้า หมักทิ้งไว้ 4-7 วัน ก็นำมารับประทานได้
2.2 การดอง 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียน การดองชนิดนี้
2.2 การดอง 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียน การดองชนิดนี้
คือ
นำเอาผักมาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น
แล้วนำมาเทราดลงบนผักปิด
ฝา ทิ้งไว้ประมาณ
2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้
2.3 การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด
กะหล่ำปลี เป็นต้น โดยต้มน้ำตาล น้ำส้ม
สายชู เกลือ
ให้ออกรสหวานนำให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน
ก็นำมารับประทานได้
2.4 การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม
2.4 การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม
เป็นต้น
ต้มน้ำส้มสายชูและเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น
กรองใส่ภาชนะที่จะบรรจุอาหาร
ดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือนจึงนำมารับประทาน
2.5 การหมักดองที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิด
2.5 การหมักดองที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิด
แอลกอฮอล์ เช่น ข้าวหมาก ไวน์ เป็นต้น
3. การถนอมอาหารโดยการเชื่อม
การเชื่อมและการกวนเป็นวิธีถนอมอาหารโดยอาศัยสารน้ำตาลป้องกันไม่ให้อาหารนั้น
เกิดการเปลี่ยนแปลงบูด
เน่าเสียหาย
การถนอมอาหารโดยการเชื่อม 3 วิธี ดังนี้
3.1 การเชื่อมแบบธรรมดา อาจเคี่ยวจนน้ำเชื่อมข้นเหนียว
น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าในเนื้อของสิ่งที่เชื่อมแล้วใช้น้ำ
เชื่อมที่เหลือแช่หล่อไว้อีกชั้นหนึ่ง
เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ขนุนเชื่อม เป็นต้น
หรืออาจเคี่ยวต่อ
ไป จนน้ำเชื่อมแก่จัด เมื่อเย็นลงจะแห้งและแข็งตัว
3.2 การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก
คือ นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม
และเปลี่ยนเพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง มักใช้กับผลไม้ที่มีรสขม
รสขื่น หรือรสเปรี้ยวจัด
ทำให้สิ่งนั้นรสจืดลงเสียก่อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น
แช่น้ำเกลือ แช่น้ำปูน แช่สารส้ม เป็นต้น ผลไม้ที่นิยมนำมาแช่
อิ่ม เช่น
มะม่วง มะขาม มะกอก มะยม เป็นต้น
การทำแยม
การทำแยม เป็นการต้มเนื้อผลไม้ปนกับน้ำตาลด้วยไฟอ่อนในระยะแรก แล้วค่อย ๆ
เพิ่มไฟขึ้นทีละน้อย หมั่นคนสม่ำเสมอ จนกระทั่งแยมเหนียวตามต้องการ กล่าวคือ
เมื่อใช้ช้อนตักขึ้นแล้ว
การรมควัน
การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ
ตากแห้งธรรมดา นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว
ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้นาน
มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก
การรมควันที่สามารถ
ทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติิโดยการสุมไฟด้วยไม้กาบมะพร้าว
ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด
ให้แขวน
อาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วยทำให้อาหารแห้งเร็ว
เช่น
รมควันปลา เป็นต้น
การปลูกต้นไม้
การจัดสวน
ประดับตกแต่ง อาคารสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่า การออกแบบสวน การจัดสวน
จะทําให้ผลที่ออกมาสวยงาม เพียงใดก็ตาม หากสวนนั้น ขาดการเอาใจใส่ดูแลรักษา
หรือดูแลรักษาไม่ถูกต้อง
ความสวยงาม ดังกล่าวก็จะค่อย ๆ สูญเสียไปในที่สุดการออกแบบสวน
เป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้ การดูแลรักษาสวน ง่ายหรือยากได้ หากเจ้าของสถานที่
ไม่มีเวลาที่จะเอาใจใส่ ดูแลรักษาสวนมากนัก ก็ควรจะจัดสวนให้ดูแลรักษาได้ง่าย
ใช้พรรณไม้ ที่ไม่ต้องการการดูแลมาก ทนทานต่อ สภาวะแวดล้อม ได้ดี
และค่อนข้างเจริญเติบโตช้า แต่ถ้าหากเจ้าของเป็น คนรักธรรมชาติ มีเวลาให้กับสวนได้มาก
มีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับ พรรณไม้ต่าง ๆ การออกแบบจัดสวน ก็สามารถเลือกใช้
พรรณไม้แปลก ๆ ที่ต้องการการเอาใจใส่ ดูแลรักษามากได้ นอกจากนี้ การออกแบบจัดสวน
จะต้องให้สะดวก เหมาะสมกับการเข้าไป ปฏิบัติงาน ในการดูแลรักษา ได้ง่ายด้วย เพราะ
การจัดสวน เป็น การจัดวางสิ่งที่มีชีวิต มีการเจริญเติบโต
ต้องการการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากปล่อยทิ้ง ให้สวนนั้น เจริญเติบโตไปตาม
ธรรมชาติ สักระยะหนึ่ง พรรณไม้ต่าง ๆ จะเจริญเติบโตมากเกินไป สวนที่เคยสวยงามใน
ครั้งแรกก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เสื่อมสภาพได้ ดังนั้น การดูแลรักษา จึงเป็น
สิ่งสําคัญ ที่จะช่วยให้สวนนั้น คงสภาพ
การดูแลรักษา
ความสวยงามให้ทนนานที่สุด
ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสวนให้คงสภาพนั้น จะเป็นจํานวนเงิน
ที่ค่อนข้างมากกว่า การออกแบบจัดสวน ในปัจจุบัน อาชีพ การดูแลรักษาสวน
เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่สามารถ ทํารายได้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้ค่อนข้างมาก
การดูแลรักษาสวน
(maintenance) เพื่อให้สวนสวยงาม คงสภาพเดิมนานที่สุด
มีวิธีที่จะต้องปฏิบัติดังนี้
การตัดแต่งพรรณไม้
(pruning)
การดูแลบํารุงรักษาสนามหญ้า
(lawn maintenance)
การให้ปุ๋ย (fertilization)
การป้องกันกําจัดศัตรูพืช
(pest control)
การปรับปรุงสวน
(gardening improvement)
การจัดสวนหน้าบ้าน
1.ไม้ยืนต้น
คืนต้นไม้ลำต้นเดี่ยวทอดสูงขึ้น แบ่งความสูงได้ 3 ขนาด คือ 10 เมตรขึ้นไป
ต่ำกว่า 10 เมตร
และต่ำกว่า 5 เมตร ที่นิยมนำมาปลูกก็คือ สะเดา, แคนา, ปาล์ม ประโยชน์ที่นักจัดสวนเลือกไม้ยืนต้นมาใช้ก็คือ ให้ร่มเงา
เป็นฉากบังสายตา กันฝุ่น
กลิ่นไม่พึงประสงค์
ไม้ยืนต้นที่มีทรงสูง มักจะถูกนักจัดสวนหยิบจับมาวางไว้ให้เป็นพระเอกของสวน
ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมวางไว้ในตำแหน่ง ริมรั้ว, มุมรั้ว,
กลางสนาม,ในกลุ่มสวน
1.
ไม้ระดับกลาง จะมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ต้นกระดาษเขียว, ต้นกระดาษขาว, ต้นกระดาษดำ เวลาจะปลูกต้องคำนึงด้วยว่าตอนโตเต็มที่จะเจริญเติบโตอยู่ได้หรือไม่
2.
ไม้พุ่ม จะนิยมใช้ในการเป็นจุดเด่นในสนามหญ้า
หรือปลูกไล่ไปตามรั้วบ้าน หรือไม่ก็ปลูกในกระถางให้ สวยงาม
ปกติแล้วไม้พุ่มในบ้านเราจะนิยมเน้นเลือกไม้ที่มีลักษณะใบเด่นกว่าดอก
อาทิ แก้ว, เข็ม,
เทียนทอง, เทียนหยด, พลับพลึง, ชบา 3 สี
3.
ไม้คลุมดิน เป็นไม้เล็กที่แม้จะดูต่ำเตี้ย
แต่ในตำราของนักจัดสวนแล้ว ถือว่า
ขาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะไม้พวกนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวลขึ้นและเกิดความรู้สึกต่อเนื่องไปกับสนามหญ้า
เวลามองสวนสวยภายในบริเวณบ้าน ที่นิยมกันก็คือ
หลิวดอกขาว, เฟิร์นมะขาม ฯลฯ เมื่อนำไม้ทั้ง 4 ลักษณะมาจัดวางในสวนของบ้าน
จะต้องดูความเหมาะสม ดูทิศทางลมด้วยว่า ต้นไม้ชนิดใดเป็นไม้หอม
ก็ควรจัดวางไว้ในตำแหน่งลมพัดผ่าน ที่สำคัญต้องคำนึงถึงความสวยงาม
และศิลปะการจัดวางให้พื้นที่ ซึ่งหากเข้าใจ
สวนผืนเล็ก ๆ อาจกลายเป็นประติมากรรมอันงดงามฝีมือของคุณเองก็เป็นได้
เป็นประติมากรรมมีชีวิตที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกัน
ซึ่งในระยะแรกเริ่มที่ต้นไม้เพิ่งหยั่งรากลงสู่ดิน
คงต้องมีการรดน้ำกันให้ชุ่มช่ำ กระทั่งผ่านพ้น
1 เดือนไปแล้ว นั่นแหละถึงเริ่มพิจารณาดูที่สภาพของดินว่าเป็นอย่างไร
แล้วค่อยรดน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ ที่สำคัญ
ต้องไม่ลืมเสริมสวยโดยการตัดแต่งกิ่งก้านที่เกิดงามให้เข้าที่เข้าทางด้วย
ไม่เช่นนั้น สวนสวย ๆ อาจกลายเป็นป่ารกชัฏ และนำพาสัตว์ตัวร้ายอาทิ
งู เข้ามาอยู่ในบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น